สถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา

                เนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี่ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนชุกหนาแน่น โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก ทำให้มีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๖.๐๐ น. ตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านสถานี C.๒ จังหวัดนครสวรรค์วัดได้ ๘๔๑ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีสมทบกับแม่น้ำสะแกกรัง ผ่านสถานี Ct.๑๙ จังหวัดอุทัยธานีวัดได้ ๕๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไหลเข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยา ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ระดับ +๑๖.๕๐ ม.รทก. ระดับท้าย +๘๗๓ ม.ทรก. ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ๕๖๓ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ในเกณฑ์ประมาณ ๖๐๐ - ๗๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นตั้งเเต่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพรยา จังหวัดชัยนาท ถึงบริเวณ ตำบลกระทุ่ม ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา และตำบลดินเเดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ สำนักงานชลประทานที่ ๑๒ จะคงบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว ด้วยการบริหารจัดการน้ำเต็มศักยภาพของพื้นที่โดยมิให้มีผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร หากมีปริมาณน้ำหลากเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า ๗๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะเเจ้งให้ทราบต่อไปนี้

            ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ สำนักงานชลประทานที่ ๑๒ จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จังหวัดประกาศประชาสัมพันธ์เเจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบกิจการในเเม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ งานก่อสร้าง เขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ขอให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
แสดงความคิดเห็น
image
ความคิดเห็น